15 กรกฎาคม 2568
Nikkeit รายงานว่า กลาง #ความตึงเครียดทางการค้า และภัยคุกคามจากการใช้ #มาตรการภาษีของสหรัฐอเมริกา ในยุคทรัมป์ กลุ่มประเทศ #อาเซียน และ #สหภาพยุโรป (#EU) เร่งกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ล่าสุด #อินโดนีเซียและ #อียู บรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ครอบคลุม (Comprehensive Economic Partnership Agreement: CEPA) คาดจะเสร็จสิ้นในช่วงเดือนกันยายน 2568
ภายใต้ข้อตกลงนี้ อินโดนีเซียจะยกเลิกอัตราภาษีส่งออกสำหรับสินค้าไปยังสหภาพยุโรปถึง 80% ภายใน 1-2 ปีหลังจากข้อตกลงมีผลบังคับใช้ ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่า การส่งออกไปสหภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้นประมาณ 58% ในสามปีถัดไป ส่งผลให้ GDP ของประเทศเพิ่มขึ้น 0.19% ขณะเดียวกัน การค้าขายกับอียูช่วยลดผลกระทบจากภาษีทรัมป์ที่อัตรา 32% สำหรับสินค้าส่งออกไปสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อย่างไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ กำลังเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพยุโรป โดยไทยเพิ่งเสร็จสิ้นการเจรจารอบที่ 6 เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2568 และตั้งเป้าหมายสรุปข้อตกลงให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้
สำหรับ #ไทย กับอียู เริ่มต้นเจรจา FTA ตั้งแต่ปี 2556 แต่หยุดชะงักหลังรัฐประหารในปี 2557 ก่อนฟื้นเจรจาอีกครั้งในปี 2566 ขณะที่ #มาเลเซีย ได้ประกาศกลับมาเจรจาใหม่ตั้งแต่ต้นปี 2568 และ #ฟิลิปปินส์ กำลังเร่งพูดคุยตั้งแต่ปลายปี 2567 โดยตั้งเป้าบรรลุข้อตกลงเฟสแรกภายในปี 2570
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ปราโบโว ซูเบียนโต กล่าวว่า “เราต้องการเห็นการมีส่วนร่วมของยุโรปในเศรษฐกิจของเรามากขึ้น” ขณะที่ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ ไลเอิน ระบุว่า “ในช่วงเวลาที่โลกปั่นป่วน การยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรถือเป็นสิ่งจำเป็น”
สหภาพยุโรป เป็น #ตลาดส่งออก สำคัญอันดับ 3 ของอาเซียน รองจาก #จีน และ #สหรัฐฯ คิดเป็น 9% ของการส่งออกทั้งหมด ส่วนไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 4 ของยุโรปใน #เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการค้ารวมกันทั้งสินค้าและบริการสูงถึง 50 พันล้านยูโรต่อปี
เป้าหมายของอาเซียนคือการเป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของโลกภายในปี 2588 ขณะที่สหภาพยุโรปยืนยันพร้อมขยายความร่วมมือกับอาเซียน รวมถึงข้อตกลงกับประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น ผ่านโครงการ CPTPP เพื่อสร้างโครงข่ายเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากขึ้น