มี/ไม่มี ‘ประยุทธ์’ …. บนบัลลังก์ สร.1

มี/ไม่มี ‘ประยุทธ์’ …. บนบัลลังก์ สร.1

ThaiTribune » วิเคราะห์ » มี/ไม่มี ‘ประยุทธ์’ …. บนบัลลังก์ สร.1

มี/ไม่มี ‘ประยุทธ์’ …. บนบัลลังก์ สร.1
22 สิงหาคม 2565 บทวิเคราะห์ไทยทริบูน : กระเเสการเมืองยามนี้ความร้อนเเรงไม่พ้น #การดำรงตำเเหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานั้น เริ่มต้น/สิ้นสุดวันใด?
.
เพราะชั่วโมงนี้ การยื่นเรื่องดังกล่าวให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องตีความเพื่อคลายความข้องใจในตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวพันการทำหน้าที่ประมุขฝ่ายบริหารนั้น ต้องดูว่าที่มาที่ไปมาจากอะไร?
.
มองย้อนกลับไป การวางหลักกฎหมายนี้ขึ้นมานั้น จุดเริ่มต้นน่าจะมาจากเเนวคิด #การบล็อกเส้นทางของสร.1 ที่ครั้งหนึ่ง Powerful ทางการเมืองเเบบไม่เคยปรากฏมาก่อน เเละตอนนั้นได้เกิดคำว่า #เผด็จการรัฐสภา ขึ้นมา (ทักษิณ ชินวัตร กับกระเเส #ไทยรักไทย ฟีเวอร์ เมื่อปี2544 -2549) เเละเมื่อถึงจังหวะวางกติกาใหม่เพื่อบล็อกเส้นทางเเห่งอำนาจมิให้ซ้ำรอยจะพบว่า
.
#รัฐธรรมนูญ ปี 2550 นับเป็นฉบับแรกที่บัญญัติเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งของนายกฯ ว่าต้องไม่เกิน 8 ปี ซึ่งปรากฏในมาตรา 171 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า “#นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปีมิได้”
.
เเละเพื่อย้ำให้ชัดขึ้นรัฐธรรมนูญ ปี 2560 จึงได้บัญญัติไว้ในมาตรา 158 วรรคสี่ ว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่ง ติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง”
.
ดังนั้นปรากฏการณ์ข้างต้นเมื่อมองไปบนภาวะ วันที่ 22 พฤษาภาคม 2557-วันนี้ของพลเอกประยุทธ์ บนเส้นทางเเห่งอำนาจนั้น พลเอกประยุทธ์จะปฏิเสธหลักกฎหมายเเห่งการครองอำนาจมิได้ ซึ่งตอนนี้มีการมองถึงวาระการดำรงตำแหน่งของพลเอกประยุทธ์ว่าสิ้นสุดวันใด?
เพราะเกิดการตีความแตกต่างกันสามแนวทางคือ
.
1.เริ่มนับตั้งแต่วันที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรก หลังการรัฐประหารครั้งที่สิบสาม(วันที่ 24 สิงหาคม 2557 )
2.เริ่มนับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ (วันที่ 6 เมษายน 2560 )
3.เริ่มนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง หลังการเลือกตั้งในปี 2562 ( วันที่ 9 มิถุนายน 2562 )ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดในประเด็นดังกล่าว
.
หากให้ขยายความในสามเหตุผลข้างต้นนั้นจะพบว่า
.
1) พลเอกประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้า #คสช. ที่มาจากรัฐประหารและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะ #รัฏฐาธิปัตย์ ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 (ตามมติของ #สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (เมื่อวันที่ 24 ส.ค.2557 ไม่อาจนับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาตามกรอบมาตรา158 ของรัฐธรรมนูญ2560 ได้
เพราะไม่ได้มาจาการเลือกของสมาชิกในรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
.
2)ยังต้องนำบทเฉพาะกาล มาตรา264 มานับวันที่ให้ ครม. ที่บริหารราชการแผ่นดินก่อนรัฐธรรมนูญ2560 ทำหน้าที่เป็น ครม.ได้ต่อไป ซึ่งรวมถึงพลเอกประยุทธ์ด้วย
.
ดังนั้นการนับครบ 8 ปี บนเหตุผลนึ้จึงต้องนับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ2560ใช้บังคับ ( วันที่6เม.ย.2560 )และนับตามบทเฉพาะกาลมาตรา264(พลเอกประยุทธ์จะครบ8ปีการเป็นสร.1ในวันที่ 5 เม.ย.2568)
.
3) นับตามการได้รับเลือกและโปรดเกล้าฯตามรัฐธรรมนูญปี2560 ซึ่งพิจารณาตามมาตรา158 ทั้งมาตรา คือ นับตั้งแต่การเลือกในรัฐสภาและนับวันตั้งแต่โปรดเกล้าฯวันที่ 9 มิ.ย.2562 (ส.ส.เเละส.ว.ลงมติร่วมกัน)
.
เพราะมาตรานี้บัญญัติหลักไว้ว่า”
บุคคลที่สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาทั้งหมด หรือ 376 เสียง จากการลงมติของส.ส.500คน และส.ว.250คน (#ชุดเฉพาะกาล ที่ผ่านการพิจารณารายชื่อจากคสช.เเละสามารถร่วมลงมติเลือกสร.1ได้อีกหนึ่งครั้งกับการเลือกตั้งครั้งหน้า)เเละต้องมองไปยังคุณสมบัติสร.1ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 ประกอบด้วยคือ
.
#สร.1 ต้องมาจาก #พรรคการเมืองที่มี ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสมาชิก ส.ส. ที่มีอยู่ 500 คน ( พรรคที่ได้ ส.ส. 25 คนขึ้นไป มีสิทธิส่งรายชื่อในการลงมติ) ดังนั้นบนเหตุผลนี้ จะพบว่าการทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ์จะครบ 8 ปี วันที่ 8 มิ.ย.2570
.
สามเหตุผลข้างต้น ต้องรอ #คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า จะชี้สถานะของพลเอกประยุทธ์ไว้เช่นใด?
ดังนั้นสมมติฐานของหลากกูรูการเมืองบนสนามข่าวยามนี้ จักพึงฟังหูไว้หูก่อนจะเหมาะสมกว่าที่จะจิตนาการภาพใหญ่การเมืองในเร็ววันนี้!

#Thaitribune #8ปีประยุทธ์ #ศาลรัฐธรรมนูญ

“ข้าวจะยาก หมากจะแพง” ยิ่งขึ้น!!

“ข้าวจะยาก หมากจะแพง” ยิ่งขึ้น!!

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาประเทศ บรรยายเมื่อ 24 สิงหาคม 2565 ถึง #ภัยแล้ง ที่รุนแรงสุดในรอบ 500 ปีใน #ยุโรป รวมถึงภัยแล้งในจีนและพื้นที่อื่นๆ ว่า กำลังจะทำให้ #วิกฤตอาหารโลก ลุกลามยิ่งขึ้นไปอีกระดับ
.
ภาพของแม่น้ำที่แห้งขอดจนถึงพื้น
ซากเมือง
ซากเรือจม
Spanish Stonehedge
Hunger Stones หรือหินของความหิวโหย ที่คนเมื่อช่วงศตวรรษที่ 15
สลักฝากข้อความไว้ที่หินใต้แม่น้ำว่า “If you see me, cry” หรือ “ถ้าคุณเห็นข้อความนี้ จงร้องไห้เถอะ”
รวมไปถึงพระพุทธรูปเก่าแก่ในจีนอายุ 600 ปี ที่โผล่จากน้ำขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
กลายเป็นภาพจำที่กำลังออกมาให้ทุกคนได้เห็น ได้ตื่นเต้น กับสิ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นเหล่านี้
.
แต่ข้างหลังภาพดังกล่าว คือ #สัญญาณอันตราย ที่ชี้ว่า วิกฤตอาหารโลกจะแย่ขึ้นจากเดิม 2 ใน 3 ของยุโรปกำลังเผชิญภาวะภัยแล้ง ดังเห็นในแผนที่ด้านล่าง (ภาพจาก European Commission) … ปัญหาได้กระจายไปยังทุกพื้นที่
.
#โปรตุเกส #สเปน #ฝรั่งเศส #สวิตเซอร์แลนด์ #เยอรมัน #อิตาลี และประเทศอื่นๆ ในยุโรปตะวันออก ต่างถูกกระทบการผลิตของข้าวโพด ข้าวสาลี น้ำมันโอลีฟ ถั่วเหลือง เมล็ดดอกทานตะวัน
.
นอกจากนี้ แม่น้ำที่แห้ง ยังกระทบต่อไปยัง #การขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นช่องทางขนส่งสำคัญของยุโรป ที่จะไม่สามารถขนส่ง #สินค้าเกษตร ได้ในช่วงนี้ ทำให้ผลผลิตเกษตรที่ออกมาสู่โลกลดลง ในพื้นที่อื่นๆ ของโลก ก็ประสบปัญหาภัยแล้ง เช่นกัน
.
#สหรัฐตะวันตก ก็กำลังเผชิญปัญหานี้อย่างรุนแรง ทำให้ผลผลิตฝ้ายปีนี้ลดลง 40%
.
#จีนตะวันตกเฉียงใต้ ที่ #แม่น้ำแยงซี ที่ระดับน้ำลดลงและแห้งขอดในบางส่วน กระทบต่อการผลิตข้าว ข้าวโพด …นอกจากภาคการเกษตรแล้ว ยังกระทบการขนส่งทางน้ำ และการผลิตกระแสไฟฟ้า บางมณฑลเช่น เสฉวนที่พึ่งพาไฟฟ้าจากเขื่อน ต้องประหยัดการใช้ไฟฟ้า หยุดจ่ายในบางส่วน
กระทบไปถึงการผลิตของโรงงานสำคัญหลายแห่ง เช่น Toyota Foxconn Tesla
.
ในส่วนของ #แอฟริกา ความแห้งแล้งในพื้นที่ Greater Horn of Africa ได้ส่งผลกระทบต่อ เอธิโอเปีย เคนย่า โซมาเลีย ทำให้คนหลายสิบล้านคนกำลังประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร
.
หมายความว่า ระดับของความรุนแรงของวิกฤตอาหารโลกที่จะเพิ่มขึ้น
ซ้ำเติมปัญหาเดิมที่เกิดมาจาก #สงครามรัสเซีย #ยูเครน ที่กระทบสินค้าเกษตรบางอย่างเช่น ข้าวสาลี
.
#ปัญหาปุ๋ยแพง จากการ Sanctions รัสเซียและเบลารุส ที่ทำให้เกษตรกรทั่วโลกต้องประหยัดการใช้ปุ๋ย ทำให้ผลผลิตออกมาน้อยในฤดูกาลนี้
แล้วยังมาถูก “ผีซ้ำ ด้ำพลอย” จากภัยแล้ง
.
ทั้งหมดนี้ จะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อในบางประเทศ เช่นในยุโรปและประเทศต่างๆ อาจจะอยู่ในระดับสูงไปอีกระยะ จากราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น และจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้นจากการลดและหยุดส่งก๊าซของรัสเซีย
ยุคข้าวยาก หมากแพง คนอดอยาก กำลังมาเยือน
.
โชคดีที่ไทยเราเป็นผู้ผลิตอาหาร เราคงได้รับประโยชน์บางส่วน และผ่านเรื่องนี้ไปได้!